สำหรับรถยนต์ 1 คัน จะไม่ได้มีเพียง ไฟหน้ารถ ที่ทำหน้าที่ส่องสว่างให้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีการใช้ไฟประเภทอื่น ๆ อีกมากมาย ที่จะมาช่วยทำให้การขับขี่สามารถทำได้ปลอดภัยมากขึ้นกว่าเดิม นอกจากนี้ไฟแต่ละประเภทยังทำหน้าที่แตกต่างกันอีกด้วย เพื่อทำความเข้าใจในการใช้ไฟในแต่ละประเภท วันนี้เราก็มีเกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ มาแนะนำ เพื่อให้ทุกคนได้ใช้ไฟหน้ารถยนต์ รวมไปถึงรถประเภทอื่น ๆ ได้อย่างถูกต้องมาแนะนำกัน
ไฟหน้ารถ มีความสำคัญอย่างไร ?
ไฟหน้ารถ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของรถ ที่ถูกระบุเอาไว้ในการผลิตว่าจำเป็นที่จะต้องมีอย่างน้อย 1 ดวง สำหรับรถมอเตอร์ไซด์ และอย่างน้อย 2 ด้วย สำหรับรถยนต์ 4 ล้อขึ้นไป เป็นหลักสากลในการผลิตรถยนต์ทั่วโลกที่ไม่สามารถละเมิดได้ หน้าที่ของไฟตัวนี้คือการส่องสว่างในยามค่ำคืน เพื่อที่จะได้มองทางด้านหน้าได้ดีมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงเป็นจุดสังเกตให้ผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่นสังเกตเห็นได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ตามหลักของความปลอดภัย สำหรับในประเทศไทยหลังจากปี 2557 มีการให้ความสำคัญกับไฟหน้ารถอีกประเภทหนึ่งมากขึ้น ซึ่งนั่นก็คือ Day light time ที่จะติดแบบอัตโนมัติทันทีที่ทำการติดเครื่องยนต์ เพื่อที่จะได้เพิ่มจุดสังเกตในเวลากลางวัน
โดยหลักการใช้งานไฟหน้ารถทั้งหมด ก็ทำมาเพื่อเสริมความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนให้มากขึ้น จะได้ลดการสูญเสียให้ได้มากที่สุดนั่นเอง อย่างไรก็ตามการขับขี่รถทุกชนิด คุณก็ควรที่จะมีประกันติดเอาไว้ด้วย จะได้เสริมความมั่นใจในการใช้งานรถให้มากยิ่งขึ้น หากเกิดเหตุเฉี่ยวชนขึ้นมา จะได้มีคนมารับผิดชอบค่าใช้จ่ายแทนเรา เพราะว่าค่าซ่อมรถแต่ละครั้งก็ไม่ใช่จำนวนที่ถูก อีกทั้งยังเป็นหลักประกันอีกว่า หากเกิดเหตุร้ายแรงคนข้างหลังเราจะมีเงินสำหรับตั้งตัวได้อย่างไม่ลำบาก
ความสำคัญของ ไฟหรี่
ไฟหรี่รถมักจะถูกติดตั้งเอาไว้บริเวณเดียวกันกับ ไฟหน้ารถ แต่ว่าดวงไฟจะมีขนาดเล็กกว่า หน้าที่ของไฟหรี่คือการเพิ่มความสว่างเวลาที่มีแสงน้อย แต่ไม่ถึงกับมืดสนิทแบบเวลากลางคืน หรือว่าจะใช้ในกรณีที่ไม่ได้ต้องการแสงที่มากเท่ากับไฟหน้ารถ ยกตัวอย่างเช่น การขับรถในอุโมงค์ หรือลานจอดรถ เป็นต้น หลักในการทำงานของไฟหรี่จะอยู่บริเวณด้ามเดียวกับคันโยกควบคุมไฟหน้ารถ และการหมุนเปิดไฟหรี่จะเป็นจังหวะก่อนเปิดไฟหน้ารถเสมอ ตามหลักการออกแบบของรถทั่วโลก ที่จะยึดหลักการใช้งานแบบนี้เหมือนกันทั้งหมด ซึ่งตามกฎหมายจะอนุญาตให้ใช้เป็นสีเหลือง หรือว่าขาวเท่านั้น หากมีการดัดแปลงเป็นสีอื่น จะมีโทษปรับอนู่ที่ 2,000 บาท อย่างไรก็ระวังในจุดนี้กันเอาไว้ด้วย
ไฟฉุกเฉิน มีหน้าที่ทำอะไร ?
มีหลายคนที่มักจะเรียกไฟฉุกเฉินว่าไฟผ่าหมาก ไม่ว่าจะเรียกอย่างไรก็ตามลักษณะการใช้งานก็จะไม่ได้เปลี่ยนแปลง ไฟฉุกเฉินถ้าหากว่าคุณไปใช้ผิดวิธี ก็อาจจะร้ายแรงถึงขั้นมีผลตามกฏหมายได้เลย ซึ่งตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. จราจร มาตรา 9 และกฏหมาย ข้อ 11 เราจะสามารถใช้ไฟฉุกเฉินได้เพราะในกรณีที่รถเสียจอดอยู่กับที่เท่านั้น ดังนั้นการที่ขับรถผ่าน 4 แยก แล้วเปิดไฟฉุกเฉินนั้นจึงเป็นความเข้าใจที่ผิด เราแค่ขับรถตรงไปอย่างเดียวก็พอ หรือการเปิดไฟฉุกเฉินตอนที่ฝนตกก็เป็นเรื่องที่เข้าใจผิดเช่นเดียวกัน เพราะในกรณีที่มีฝนตกหลักการขับรถที่ถูกต้องคือการที่เราเปิดไฟหน้ารถ หรือไฟหรี่ก็เพียงพอแล้ว การขับรถโดยที่เปิดไฟฉุกเฉินเป็นเรื่องที่อันตรายมาก เพราะผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่นจะไม่สามารถรู้ได้เลยเวลาที่เราเปลี่ยนช่องทางสัญจร
ไฟสูง ควรจะใช้เมื่อไหร่ ?
ไฟสูงจะเป็นไฟที่อยู่โคมเดียวกับไฟหน้ารถ แต่ด้วยกลไกของตัวรถที่จะมีการเพิ่มกำลังไฟ และองศาการสะท้อนของโคมไฟหน้ารถ จะทำให้ไฟหน้ารถสามารถส่องไปได้ไกลมากขึ้นกว่าเดิม และมีความสว่างมากขึ้นกว่าเดิม หลักในการใช้ไฟสูงที่ถูกต้องคือการใช้ในสถานการณ์ที่ไม่มีรถสัญจรมาในฝั่งตรงกันข้าม ใช้ในสถานที่มืดสนิทไม่มีไฟส่องทาง หรืออาจจะใช้ในการกะพริบเพื่อให้สัญญาณแก่รถคันอื่น หรือว่าเพิ่มจุดสังเกตในการระวังรถของเรา การใช้ไฟสูงส่องไปที่รถที่กำลังสวนทางมาเป็นเรื่องที่อันตรายอย่างมาก และไม่ควรทำไม่ว่าจะในกรณีใดก็ตาม เพราะอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
แต่ไม่ว่าอย่างไรในการใช้รถใช้ถนนควรที่จะต้องมีประกันภัยติดเอาไว้ด้วย เพื่อที่จะเพิ่มหลักประกันในการขับขี่ให้ดีมากขึ้นกว่าเดิม เวลาที่เกิดเหตุอะไรขึ้นมาจะได้มีคนช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการซ่อม หรือในกรณีที่เกิดเหตุร้ายแรงคุณจะได้มั่นใจว่า คนข้างหลังของคุณจะสามารถตั้งหลักได้ ซึ่งกรมธรรม์ในการคุ้มครองก็จะมีให้เลือกหลายแบบ คุณควรที่จะเลือกแบบที่เหมาะกับการใช้งาน และนิสัยในการขับขี่มากที่สุด และหากเป็นไปได้ก็ควรเลือกกรมธรรม์ชั้น 1 เพื่อที่จะได้รับการคุ้มครองแบบครบทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเกิดเหตุอะไรขึ้นก็ตาม แต่ไม่ว่าอย่างไรการขับขี่แบบมีน้ำใจ และไม่ประมาท ก็จะเป็นพื้นฐานสำคัญมากที่สุดในการใช้รถใช้ถนน