อ่านรายละเอียดหัวข้อที่สนใจ สำหรับการลดหย่อนภาษีด้วยเงินบริจาค
- เงินบริจาคลดหย่อนภาษีคืออะไร
- เงินบริจาคลดหย่อนภาษี ได้สูงสุดเท่าไหร่?
- ตัวอย่างการคำนวณสิทธิลดหย่อนภาษีเงินบริจาคสูงสุด
- เงินบริจาคลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่ามีอะไรบ้าง?
- ใบอนุโมทนาบัตร ลดหย่อนภาษี ต้องมีอะไรบ้าง?
- วิธีบริจาคลดหย่อนภาษี 2 เท่า ผ่านระบบ e-donation
‘เงินบริจาคลดหย่อนภาษี’ เป็นหนึ่งในรายการค่าใช้จ่ายที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ ไม่ว่าจะเป็นการบริจาคให้กับมูลนิธิ โรงเรียน วัด มูลนิธิ หรือองค์กรต่าง ๆ นอกจากจะเป็นการทำประโยชน์เพื่อสังคมแล้ว ก็ยังประหยัดเงินในกระเป๋าได้ ดังนั้นใครที่กำลังมองหาวิธีจัดการภาษีอย่างเป็นระบบ ด้วยเงินบริจาคลดหย่อนภาษี SCB Protect ของเราได้รวบรวมวิธีบริหารเงินบริจาคลดหย่อนภาษี 2567 พร้อมแนะนำวิธีบริจาคลดหย่อนภาษี 2 เท่าผ่านระบบ e-donation ง่าย ๆ ตามมาอ่านกันเลย
เงินบริจาคลดหย่อนภาษีคืออะไร
เงินบริจาคลดหย่อนภาษี คือรายการค่าใช้จ่ายที่สามารถนำไปคำนวณเพื่อลดหย่อนภาษีได้ตามกฎหมาย โดยเงินบริจาคเหล่านั้น มีความหมายถึงทรัพย์สินที่เราได้ทำการบริจาคให้กับองค์กร หน่วยงาน รวมไปถึงกิจกรรมซึ่งผ่านการรับรองจากรัฐแล้วเท่านั้น เช่น โรงเรียน วัด มูลนิธิ โรงพยาบาล ตลอดจนโครงการเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์อื่น ๆ ซึ่งรายละเอียดเงินบริจาคลดหย่อนภาษีบุคคลธรรมดา ก็แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประเภทของการบริจาค โดยในปัจจุบันกรมสรรพากรได้พัฒนาระบบให้ทุกคนสามารถเลือกบริจาคเงิน และเก็บหลักฐานเพื่อลดหย่อนภาษีผ่านระบบ e-donation ได้แล้ว
กดที่นี่เพื่อ เช็กสถานที่หักลดหย่อนเงินบริจาค
เงินบริจาคลดหย่อนภาษี ได้สูงสุดเท่าไหร่?
โดยปกติแล้วเงินบริจาคลดหย่อนภาษีสูงสุด จะมีรายละเอียดค่าลดหย่อนที่ระบุเอาไว้ต่างกันออกไป ตามหมวดหมู่การบริจาคซึ่งมีการกำหนดเอาไว้หลัก ๆ ดังนี้
เงินบริจาคลดหย่อนภาษีทั่วไป
สำหรับเงินบริจาคลดหย่อนภาษีแบบทั่วไป คือเงินบริจาคที่มอบให้กับหน่วยงานหรือองค์กร ที่มีการทำประโยชน์ต่อสังคม หรือจำเป็นต่อการใช้ชีวิตของคนในสังคม โดยผ่านการรับรองจากทางรัฐ ซึ่งจะพบเห็นได้ทั่วไป เช่น วัด สภากาชาดไทย สถานพยาบาล สถานศึกษาของทางราชการ โดยสามารถใช้เงินบริจาคลดหย่อนภาษีสูงสุดได้ตามที่จ่ายจริง และจะต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว
เงินบริจาคลดหย่อนภาษี 2 เท่า
ในส่วนของเงินบริจาคลดหย่อนภาษี 2 เท่า คือเงินบริจาคที่ใช้เพื่อสนับสนุนการศึกษา กีฬา การพัฒนาสังคม โรงพยาบาลของรัฐ รวมถึงการเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยจะสามารถนำเงินบริจาคลดหย่อนภาษี 2 เท่าได้ ของจำนวนเงินบริจาคที่จ่ายจริง แต่ยังคงละไว้ให้สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ แล้วเช่นเดียวกัน
เงินบริจาคลดหย่อนภาษี เพื่อพรรคการเมือง
สำหรับรูปแบบของเงินบริจาคลดหย่อนภาษีหมวดสุดท้าย ที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กันก็คือ เงินบริจาคลดหย่อนภาษีสำหรับบริจาคให้กับพรรคการเมือง เชื่อว่าหลายคนอาจจะยังไม่เคยรู้มาก่อนว่าคนไทยสามารถบริจาคเงินให้กับพรรคการเมือง และนำมาใช้เพื่อคำนวณเป็นค่าลดหย่อนภาษีได้ โดยเงินบริจาคลดหย่อนภาษีสูงสุดในข้อนี้ จะสามารถลดหย่อนได้ตามจำนวนเงินที่จ่ายจริง สูงสุดถึง 10,000 บาทเลยทีเดียว
ตัวอย่างการคำนวณสิทธิลดหย่อนภาษีเงินบริจาคสูงสุด
ทุกคนสามารถคำนวณเพื่อหายอดเงินบริจาคลดหย่อนภาษีสูงสุด ที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ง่าย ๆ ตัวอย่างเช่นนายรัตติกาล เป็นพนักงานประจำ มีรายได้ต่อเดือน 25,000 บาท และได้ทำการส่งเบี้ยประกันสุขภาพปีละ 36,000 บาท สามารถคำนวณโดยใช้ขั้นตอนดังนี้
STEP 1 : นำรายได้ต่อเดือน x 12 เพื่อหารายได้รวมทั้งปี
จะได้เท่ากับ 25,000 x 12 = 300,000 บาท
SPEP 2 : นำรายได้ทั้งปีหักกับค่าลดหย่อนอื่น ๆ ดังนี้
(ลดหย่อนที่ 1) ค่าใช้จ่ายมาตรฐาน 50% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท = 15,000 บาท
(ลดหย่อนที่ 2) ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
(ลดหย่อนที่ 3) ค่าเบี้ยประกันสุขภาพไม่เกิน 25,000 บาท
จะได้เป็นจำนวนเงินสุทธิเท่ากับ 300,000-15,000-60,000-25,000 = 200,000 บาท
SPEP 3 : คำนวณสิทธิลดหย่อนภาษีเงินบริจาคสูงสุดโดยนำยอดเงินสุทธิ x 10%
จะได้เท่ากับ 200,000 x 10% = 20,000 บาท
ดังนั้นนายรัตติกาล จะสามารถนำยอดเงินบริจาคลดหย่อนภาษี ไปคำนวณเพื่อขอลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 20,000 บาทเท่านั้น หากเกินกว่านี้จะไม่สามารถนำไปลดหย่อนได้เพิ่ม เนื่องจากเกินจากเพดานลดหย่อนตามที่กฎหมายกำหนดนั่นเอง
เงินบริจาคลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่ามีอะไรบ้าง?
เงินบริจาคเพื่อการศึกษา
เงินบริจาคลดหย่อนภาษี 2 เท่าได้ในข้อแรก คือเงินบริจาคเพื่อการศึกษา เพื่อเป็นการสนับสนุนและกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาด้านการศึกษา ใช้ในการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ ก่อสร้างอาคารเรียน จัดหาครูอาจารย์ หรือมอบเป็นทุนการศึกษา โดยมีเงื่อนไขการบริจาคว่าต้องเป็นสถานศึกษาของรัฐ โรงเรียนเอกชน สถาบันอุดมศึกษาเอกชน สถานศึกษาตามโครงการพระราชดำริ หรือสถานศึกษาที่รองรับพัฒนาเด็กด้อยโอกาสเด็กพิการ เป็นต้น
เงินบริจาคเพื่อสถานพยาบาลของทางราชการ
สำหรับเงื่อนไขเงินบริจาคลดหย่อนภาษี 2567 ที่สามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษี 2 เท่าได้ในหัวข้อนี้ จะเกี่ยวข้องกับเงินบริจาคลดหย่อนภาษี ในหมวดสถานพยาบาลของทางราชการ โดยจะต้องบริจาคให้กับสถานพยาบาลที่เข้าเงื่อนไขเท่านั้น ดังนี้
- สถานพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข หรือกระทรวงกลาโหม
- สถานพยาบาลของสถาบันการศึกษาของรัฐ
- สถานพยาบาลขององค์การมหาชน
- สถานพยาบาลของรัฐวิสาหกิจ
- สถานพยาบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- สถานพยาบาลของสภากาชาดไทย
- สถานพยาบาลของหน่วยงานรัฐอื่น ๆ
เงินบริจาคเพื่อการพัฒนาและส่งเสริมการกีฬา
การบริจาคเพื่อการพัฒนาและส่งเสริมการกีฬาเป็นอีกหนึ่งรูปแบบการบริจาคที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ถึง 2 เท่าของจำนวนเงินที่บริจาคจริง การบริจาคในประเภทนี้ครอบคลุมการสนับสนุนกิจกรรมและโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากีฬาและการสร้างโอกาสให้เยาวชนหรือประชาชนทั่วไปได้เข้าถึงกิจกรรมกีฬา ทั้งในด้านสุขภาพและการพัฒนาทักษะการกีฬาระดับต่าง ๆ เช่น การสนับสนุนสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทยหรือสมาคมกีฬาที่ได้รับการรับรองจากการกีฬาแห่งประเทศไทย
นอกจากนี้ก็ยังมีหน่วยงานอื่น ๆ ที่สามารถทำการบริจาคเงินเพื่อใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้อีกมากมาย ขึ้นอยู่กับแต่ละหน่วยงาน เช่น กองทุนสนับสนุนการวิจัยตามกฎหมาย, เงินบริจาคสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, เงินบริจาคสำหรับโครงการฝึกอบรมอาชีพ, เงินบริจาคสำหรับศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เป็นต้น
ใบอนุโมทนาบัตร ลดหย่อนภาษี ต้องมีอะไรบ้าง?
ใบอนุโมทนาบัตรคือหนึ่งในหลักฐานที่จะได้รับเมื่อทำงานบริจาคเงิน ซึ่งสามารถใช้เป็นหลักฐานของเงินบริจาคลดหย่อนภาษีได้ (การบริจาคเงินผ่านระบบ e-Donation ไม่ต้องใช้หลักฐานหรือใบอนุโมทนาบัตร) แต่ใบอนุโมทนาบัตรลดหย่อนภาษีต้องมีอะไรบ้าง ทางกรมสรรพากรได้ระบุเอาไว้ว่า กระทรวงการคลังไม่ได้มีการกำหนดตัวอย่างรูปแบบของใบอนุโมทนาบัตรอย่างเฉพาะเจาะจงเอาไว้ แต่ควรจะต้องมีข้อมูลดังต่อไปนี้ให้ครบถ้วน เช่น
- เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ออกใบรับ
- ชื่อหรือยี่ห้อของผู้ออกใบรับ
- เลขลำดับของเล่มและของใบรับ
- วัน เดือน ปีที่ออกใบรับ
- จำนวนเงินที่รับ
วิธีบริจาคลดหย่อนภาษี 2 เท่า ผ่านระบบ e-donation
เพื่อให้การบริจาคสะดวก รวดเร็ว และสามารถดำเนินการขอลดหย่อนภาษีได้แบบไม่ต้องเก็บหลักฐานให้วุ่นวาย เราจะพาทุกคนมาเรียนรู้กันว่าวิธีบริจาคลดหย่อนภาษี 2 เท่าผ่านระบบ e-donation ต้องทำยังไงบ้างสำหรับมือใหม่
- เลือกหน่วยรับบริจาคที่เข้าร่วมระบบ e-Donation
- เข้าสู่แอปพลิเคชันธนาคารหรือ Mobile Banking
- สแกน QR Code ของหน่วยรับบริจาค เพื่อบริจาคเงิน
- หากหน่วยงานที่เลือก เข้าร่วมระบบ e-Donation แอปพลิเคชันแจ้งความประสงค์ส่งข้อมูลเพื่อใช้สิทธิลดหย่อนภาษี
- เลือกยืนยันการบริจาคและส่งข้อมูล
- ตรวจสอบข้อมูลการบริจาคผ่านระบบ e-Donation ของกรมสรรพากร
ตัวอย่างช่องทาง e-donation
- โรงพยาบาลสงฆ์ e-donation
- มูลนิธิโรงพยาบาลเด็ก กองทุนอาคารเฉลิมพระเกียรติฯ
- สภากาชาดไทย
- มูลนิธิกระจกเงา
- มูลนิธิโรงพยาบาลตำรวจ ในพระบรมราชินูปถัมภ์
- สถาบันมะเร็งแห่งชาติ(ผู้ป่วยอนาถาฯ)
- ศิริราชมูลนิธิ
- มูลนิธิ รักษ์ไทย
- มูลนิธิธรรมรักษ์ วัดพระบาทน้ำพุ
- unicef Thailand
- ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ
- มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์
- มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง
- มูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการ ในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
วางแผนการจ่ายภาษีอย่างเป็นระบบและคุ้มค่าด้วยเงินบริจาคลดหย่อนภาษี ที่ช่วยแบ่งเบาภาระภาษีและสร้างประโยชน์เพื่อสังคมกันไปแล้ว เราก็มีวิธีวางแผนความมั่นคงที่ยั่งยืนสำหรับอนาคต พร้อมสิทธิลดหย่อนทางภาษีสุดคุ้มอีกหนึ่งช่องทางมาแนะนำ นั่นก็คือ ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ จาก SCB Protect ที่จะช่วยให้การออมเงินเพื่ออนาคตเป็นเรื่องง่าย มีความคุ้มครองกรณีเสียชีวิต ทั้งยังสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาทเลยทีเดียว