หน้าแรก > บทความ > สัญญาณเตือน ยิ่งทำงานหนัก ยิ่งเสี่ยงโรคร้ายแรง

สัญญาณเตือน ยิ่งทำงานหนัก ยิ่งเสี่ยงโรคร้ายแรง

สัญญาณเตือน ยิ่งทำงานหนัก ยิ่งเสี่ยงโรคร้ายแรง


เคยลองสังเกตตัวเองกันบ้างไหม ว่าในช่วงนี้เผลอทำงานหนักจนไม่มีเวลาให้ร่างกายได้พักผ่อนอยู่หรือเปล่า เพราะในบางครั้งคุณอาจคิดว่าตัวเอง ‘ยังไหว’ จะฝืนโหมงานอีกสักหน่อยก็คงไม่เป็นอะไร แต่ในความเป็นจริงภายในร่างกายอาจจะกำลังมีสัญญาณเตือนของโรคร้ายแรงอย่างโรคเส้นเลือดในสมองแตกที่กำลังก่อตัวอย่างเงียบ ๆ อยู่ก็ได้ ดังนั้นเพื่อเตรียมความพร้อมและป้องกันความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นกับตัวเองและคนที่คุณรัก SCB Protect ของเราจึงขอพาทุกคนไปทำความรู้จักกับโรคร้ายที่เกิดจากการทำงานหนัก และวิธีป้องกันง่าย ๆ ที่สามารถนำไปไปทำตามกันได้เลย

ทำความรู้จักโรคหลอดเลือดสมอง


ทำความรู้จักโรคหลอดเลือดสมอง


ก่อนที่เราจะไปตามอ่านกันว่าอาการหลอดเลือดในสมองแตกจากการทำงานหนักมันคืออะไร และน่ากลัวอย่างไรบ้าง เรามาเริ่มจากการทำความรู้จักต้นเหตุอย่างโรคร้ายแรงอย่าง ‘โรคหลอดเลือดสมอง’ กันก่อน ซึ่งอาการของโรคดังกล่าวก็จะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้


1. หลอดเลือดสมองตีบ (Ischemic Stroke)  


เป็นอาการที่สมองขาดออกซิเจน ทำให้เสียความสามารถในการควบคุมร่างกาย หรือกลายเป็นโรคร้ายแรงอย่างอัมพฤกษ์ อัมพาต โดยมีสาเหตุมาจากการที่เลือดมีภาวะแข็งตัวอย่างผิดปกติ หรือเกิดการตีบตันบริเวณผนังหลอดเลือดจากหลายกรณี ไม่ว่าจะเป็นการที่ไขมันหรือหินปูนมาพอกตัวที่ผนังหลอดเลือด เกิดจากลิ่มเลือดหัวใจ หรือเกิดจากการที่ก้อนเลือดบางส่วนหลุดเข้าไปอุดตันบริเวณเส้นเลือดใหญ่ในสมอง


2. หลอดเลือดในสมองแตก (Hemorrhagic stroke)


หลายคนที่ ‘ทำงานหนัก’ ต้องตระหนักเอาไว้เลยว่าคุณอาจกำลังเสี่ยงต่อการเป็นโรคร้ายแรงอย่างโรคหลอดเลือดในสมองแตกไปแล้วโดยไม่รู้ตัว เพราะนอกจากสาเหตุของโรคนี้จะเกิดได้จากกลุ่มคนที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือมีภาวะไขมันในเลือดสูงแล้ว ก็ยังสามารถพบได้ในกลุ่มคนที่ไม่ค่อยออกกำลังกายและมักจะตกอยู่ในภาวะเครียดจากการทำงานหนักได้ด้วยเช่นกัน


BEFAST สัญญาณอันตรายเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง


BEFAST สัญญาณอันตรายเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง


แม้ว่าการเกิดโรคร้ายแรงอย่างหลอดเลือดสมอง หรือหลอดเลือดสมองแตกอาจไม่ได้บอกให้เราทุกคนรู้ล่วงหน้า และหลายครั้งมันก็ทำให้ความสูญเสียมาเยือนโดยที่ไม่ทันได้ตั้งรับ ถึงอย่างนั้นแต่เราทุกคนก็ยังสามารถประเมินความเสี่ยงในเบื้องต้นด้วยตัวเองกันได้ง่าย ๆ โดยใช้หลักการ BEFAST ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

B (Balance) : คืออาการที่เริ่มสูญเสียความสามารถในการทรงตัว วิงเวียนศีรษะ เดินเซ 

E (Eyes) : เริ่มมีปัญหาในการมองเห็น มองภาพไม่ชัด มีอาการพร่ามัว มองเห็นภาพซ้อน หรือเสียความสามารถในการมองเห็นไปเลยก็ได้

F (Face) : มีความผิดปกติบริเวณใบหน้าครึ่งซีก ปากเบี้ยว ใบหน้าสองฝั่งไม่เท่ากัน มุมปากตก

A (Arms) : แขนขาซีกใดซีกหนึ่งอ่อนแรง หรือมีอาการชา 

S (Speech) : มีปัญหาในการพูด พูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง นึกคำพูดไม่ออก รวมถึงไม่สามารถเข้าใจในสิ่งที่คนอื่นพูดได้

T (Time) : เป็นสัญญาณเตือนที่อยู่ในระดับอันตราย ต้องให้ความสำคัญกับเวลา ควรรีบพาผู้ป่วยเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลโดยด่วน


ทำงานหนักเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดในสมองแตกได้ยังไง ?


การทำงานหนักอาจไม่ได้ทำให้ทุกคนป่วยเป็นโรคร้ายแรง ที่คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วนับไม่ถ้วนอย่างโรคหลอดเลือดสมองแตกได้โดยตรง แต่การทำงานหนักเกินไปเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลเสียต่อร่างกายและนำพาไปสู่ข้อบ่งชี้ในการเกิดโรคได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หรือโรคเบาหวาน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมองได้ทั้งสิ้น โดยพฤติกรรมเสี่ยงที่เกิดจากการทำงานหนักก็มีอยู่มากมาย เช่น


● ทำงานหนักจนเกิดภาวะความเครียด ทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น

● มีเวลาพักผ่อนน้อย ทำงานทั้งวันทั้งคืนจนไม่ได้นอน

● ทำงานหนักจนไม่ได้ออกกำลังกาย

● ดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่เพื่อคลายเครียดจากการทำงาน

● มีพฤติกรรมชอบทานของหวานหรือเครื่องดื่มที่มีรสหวานอย่างชานมไข่มุก ในขณะทำงานเป็นประจำ


หลอดเลือดในสมองแตกส่งผลเสียอะไรบ้าง


ผลเสียของโรคร้ายแรงอย่างโรคหลอดเลือดสมองแตก นอกจากจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงได้แล้ว ก็ยังจะทำให้สมองขาดเลือดในทันที ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะ ‘สมองตาย’ สมองหยุดทำงาน ส่งผลให้เสี่ยงต่อการทุพพลภาพหรืออาจเสียชีวิตอย่างรวดเร็วหลังเกิดการแตกของหลอดเลือดในสมอง ซึ่งถ้าสามารถพาผู้ป่วยเข้ารับการรักษาได้เร็วก็อาจยังรักษาได้ โดยจะต้องอาศัยหลักการฟื้นฟูผู้ป่วยแบบ Golden Period ที่ต้องใช้ระยะเวลาและค่าใช้จ่ายที่มากพอสมควร


วิธีป้องกันและการรับมือ


วิธีป้องกันและการรับมือ


  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และครบถ้วนตามหลักโภชนาการ งดมัน งดทอด งดหวาน งดเค็ม รวมถึงงดการดื่มน้ำอัดลม
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที
  • พยายามหากิจกรรมเพื่อผ่อนคลาย ไม่ควรตกอยู่ในภาวะเครียดอย่างหนัก
  • จัดตารางการทำงานและการพักผ่อน ให้ชีวิตมี Work Life Balance
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่
  • ควบคุมน้ำหนักหรือปัจจัยที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงต่าง ๆ เช่น ความดันโลหิตหรือระดับน้ำตาลในเลือด



นอกจากนั้นการมองหาหลักประกันเพื่อเข้ามารองรับความเสี่ยง และมอบความคุ้มครองในกรณีที่ป่วยเป็นโรคร้ายแรงจากการทำงานหนักอย่างโรคเส้นเลือดในสมองแตก จนขาดรายได้ ทั้งยังต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลอีกมากมาย ด้วยประกันโรคร้ายแรงจาก SCB Protect ก็จะช่วยประคับประคองไม่ให้ชีวิตของคุณและคนในครอบครัวต้องมาสะดุด เข้าถึงการรักษาได้แบบไม่ต้องกังวลค่ารักษาพยาบาล ทั้งยังมีเงินสำรองเอาไว้ให้นำมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวันได้ตามต้องการอีกด้วย (รายละเอียดความคุ้มครองขึ้นอยู่กับกรมธรรม์ที่เลือกใช้บริการ)